ภาวะพร่องสุขภาพคืออะไร? พูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อคุณรู้สึกไม่สบายอย่างชัดเจน แต่กลับตรวจไม่พบโรคใด ๆ นี่คือสภาวะระหว่างการเป็นโรคกับสุขภาพที่ดี ตัวอย่างเช่น มักรู้สึกเซื่องซึม ขาดพลังงาน เหนื่อยล้า นอนไม่หลับ วิตกกังวล ความจำเสื่อมถอย เป็นต้น เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะพร่องสุขภาพ เมื่อปรากฏอาการเหล่านี้ขึ้นกับร่างกาย ทำอย่างไรจึงจะออกจากพื้นที่สีเทาของภาวะพร่องสุขภาพนี้ไปได้? มาดูรายละเอียดที่จะพูดถึงดังต่อไปนี้:

1.มีสติในการกินอาหารให้มาก ๆ ── ห่างไกลจากภาวะพร่องสุขภาพ

ความอ้วน ทางเดินอาหารทำงานไม่ปกติ และอื่น ๆ เหล่านี้สามารถนำไปสู่ภาวะพร่องสุขภาพได้ง่าย ดังนั้นการปรับอาหารเพื่อเปลี่ยนภาวะพร่องสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความสมดุล” ที่เป็นกุญแจสำคัญ ในการรักษาความสมดุลของอาหารจึงจำเป็นต้องใส่ใจกับประเด็นดังต่อไปนี้:

  • กินอาหารสามมื้อต่อวันให้ตรงเวลา อย่าอดอาหารมื้อหนึ่ง แล้วค่อยกินอิ่มอีกมื้อหนึ่ง
  • อย่าเลือกกิน กินแค่ที่ชอบ หรือกินมากจนเกินไป
  • มีวินัยในการกินอาหารและมีความหลากหลาย ให้ความสำคัญกับการใส่เกลือแต่น้อย น้ำมันน้อย ๆ น้ำตาลน้อย ๆ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อกระเพาะอาหาร การย่อยอาหาร หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง การทำเช่นนี้จะสามารถหนีห่างจากภาวะพร่องสุขภาพก้าวแรกได้

2.มีวินัยในการทำงานและพักผ่อน ── ห่างไกลจากภาวะพร่องสุขภาพ

การมีวินัยในการทำงานและพักผ่อนคือพื้นฐานของสุขภาพที่ดี ในทางตรงกันข้ามการทำงานและการพักผ่อนที่ปรวนแปรเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะพร่องสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนอนดึกเพื่อทำโอที ซึ่งทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าจนเกินไป หรือนอนดึกเพราะติดซีรีส์ ไปจนถึงการเที่ยวเล่นสังสรรค์ ซึ่งนำไปสู่ความปรวนแปรกลายเป็นพักผ่อนในกลางวันและทำงานตอนกลางคืน พฤติกรรมเหล่านี้ไปขัดขวางกิจวัตรตามปกติของร่างกายมนุษย์ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ เราจึงต้องจัดสรรเวลาในการทำงานและพักผ่อนหย่อนใจให้เหมาะสม นอนให้เพียงพอ “ทำงาน” ด้วย “พักผ่อน” ด้วย ไม่โหมทำงานหรือพักผ่อนเกินเวลา เข้านอนก่อน 5 ทุ่ม พยายามทำตามคำพูดบรรพบุรุษของเราที่ว่า “ทำงานตอนพระอาทิตย์ขึ้นและพักผ่อนตอนพระอาทิตย์ตก” นี่คือวิถีในการมีสุขภาพที่ดีด้วยการหวนคืนสู่ธรรมชาติ

3.ออกกำลังกายเพื่อร่างกายที่แข็งแรง ── ห่างไกลจากภาวะพร่องสุขภาพ

คนสมัยใหม่มักไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศและนักเรียนนักศึกษา ในการใช้ชีวิตที่ยุ่งวุ่นวาย พวกเขามักจะนั่งนานไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ก็ไม่อยู่ห่างจากตัวเลย ประกอบกับปัจจัยของเครื่องปรับอากาศ เสียงรบกวนในเมือง และอื่น ๆ ก็มีผลกระทบด้วยเช่นกัน เหล่านี้ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง หากคุณสามารถจัดสรรเวลาในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม คุณก็จะสามารถทำคาร์ดิโอในร่มได้ หรือออกไปเดินเล่นกลางแจ้ง วิ่งจ๊อกกิ้ง ปีนเขา ปั่นจักรยาน เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มสมรรถภาพทางกายและเพิ่มภูมิคุ้มกัน รวมทั้งปรับเปลี่ยนภาวะพร่องสุขภาพของคุณให้ดีขึ้นได้

หากคุณต้องการเสริมสร้างพลังงานชีวิตอย่างรวดเร็วและเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง จะไม่พูดถึงการออกกำลังกายอย่างช้า ๆ ที่นิยมไปทั่วโลกอย่าง “กำลังภายในปากว้า” ไม่ได้ การออกกำลังกายวิธีนี้สามารถเรียนรู้ได้ง่ายและให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง ไม่มีข้อจำกัดของเวลา สถานที่ หรือสภาพอากาศ ต้องการเพียงต้นไม้สักต้นพร้อมเสียงเพลงบรรเลงที่ผ่อนคลายและสงบ ซึ่งสามารถฝึกได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง ฝึกฝนเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงในทุกวันจะช่วยเสริมพลังงานได้อย่างรวดเร็วและทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรงขึ้นด้วย

4.ทำจิตใจให้สบาย ── ห่างไกลจากภาวะพร่องสุขภาพ

การรักษาสภาพจิตใจให้สงบเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม จิตใจที่สงบนั้นต้องอาศัยการประสานในหลาย ๆ ด้าน ประกอบด้วย การต้านทานต่อแรงกดดันได้ดี การสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างกลมกลืน การมีทัศนคติเชิงบวกในชีวิต และอารมณ์ที่คงที่ เป็นต้น เพื่อรักษาจิตใจให้สงบ ลองใช้เวลาที่เหลือจากการทำงานและชีวิตที่วุ่นวายให้จิตใจได้พักผ่อนอย่างเหมาะสม โดยให้พื้นที่เล็ก ๆ แก่ตัวเองสำหรับการผ่อนคลายจินตนาการสรรค์สร้าง ตกตะกอนทางความคิด และทำในสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุข ตัวอย่างเช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำอาหาร ดูหนัง เป็นต้น ไม่ให้โอกาสในการเกิดภาวะพร่องสุขภาพขึ้น

แน่นอนว่าถ้าคุณต้องการรักษาจิตใจและร่างกายให้สงบก็ลองใช้วิธีเก่าแก่อย่างการปฏิบัติธรรมได้ พลังของฌานช่วยชำระล้างร่างกายและจิตใจของคุณจากภายในสู่ภายนอก ในการปฏิบัติธรรมโพธิไม่ว่าจะเป็นการกราบอัษฎางคประดิษฐ์ การฝึก“วิชามหารัศมี” ล้วนเป็น “การปฏิบัติธรรมแบบเคลื่อนไหว” ส่วน “การฝึกวิชาโพธิจิต” “วิชาละลายกระดูก” คือ “การปฏิบัติธรรมแบบสงบนิ่ง” วิธีเหล่านี้นำความสงบสุขมาสู่จิตใจและร่างกายได้ทั้งนั้น แนะนำให้เพื่อน ๆ ปฏิบัติธรรมด้วยความสงบเป็นเวลาครู่หนึ่งโดยใช้ประโยชน์จากเวลาที่เหลือในช่วงสั้น ๆ ตอนเช้าตรู่ ตอนพักกลางวัน ก่อนเข้านอน เป็นต้น เพียงแค่คุณมุ่งมั่นทำทุกวัน คุณจะได้พบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของร่างกายและจิตใจ เช่น มีความกระฉับกระเฉง สมองปลอดโปร่ง มองสิ่งต่าง ๆ ในมุมใหม่ ทำให้กลายเป็นคนที่มีเสน่ห์ เป็นมิตร เข้าถึงได้ง่าย สามารถจัดการกับความเครียดและปัญหาได้ด้วยความใจเย็น มีความมั่นคงทางอารมณ์ และไม่กระวนกระวาย…นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความสุขและอิสระในการใช้ชีวิตได้มากยิ่งขึ้น นับวันยิ่งสุขภาพดีและมีความสุข

บทสรุป:

โรคภัยไข้เจ็บไม่ได้เกิดขึ้นภายในวันเดียว สุขภาพที่ดีก็ต้องเกิดจากการสั่งสมเช่นกัน ภาวะพร่องสุขภาพไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ เราต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ถึงจะถือว่ามีความรับผิดชอบต่อสุขภาพตัวเอง ตั้งแต่วันนี้ไปให้ปรับเปลี่ยนอาหารที่ไม่ดี ปรับนิสัยการทำงานและการพักผ่อน ปรับสภาพร่างกายและจิตใจตั้งแต่ภายในสู่ภายนอก เพื่อจะได้ห่างไกลจากภาวะพร่องสุขภาพ และก้าวไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพดีและมีความสุข!